top of page
20211217_RatchutSchool_PrintAD2022_241_Resize (Large).jpg
Anchor 1
Anchor 2

Ratchut Curriculum

การจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์เด็กจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาในทุกๆด้าน ดังนั้นโจทย์ในการจัดทำหลักสูตรของเราจึงเป็นการตอบคำถามที่ว่า “การจะให้เด็กเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ เด็กจะต้องมีพื้นฐานหรือคุณลักษณะ อย่างไรบ้าง”  คุณลักษณะที่สำคัญที่เด็กควรมีเพื่อเป็นพื้นฐานในการเติบโตอย่างเต็มศัยภาพได้แก่

การเป็นคนที่พึ่งพาตนเองได้ (Independent)

 

เด็กที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ จะมีภาพลักษณ์ต่อตนเองว่า ตนเองเป็นคนที่มีศักยภาพ ทำสิงใดก็สามารถประสบ

ความสำเร็จได้ และคุณลักษณะนี้เองที่จะทำให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความ "มั่นใจในตัวเอง"

เราสามารถพัฒนาคุณลักษณะนี้ได้โดยการ การให้โอกาสเด็กได้ทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง ตั้งแต่การเดินเอง

ใส่รองเท้าเอง เปลี่ยนเสื้อผ้าเอง กินเอง นอนเอง ทำกิจกรรมต่างๆในห้องเรียนด้วยตัวเอง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เด็กสามารถทำจนสำเร็จได้ด้วยตนเองนั้น จะก่อเกิดเป็นความภาคภูมิใจ และความภาคภูมใจนี้เอง ที่จะเป็นเสมือนรากฐานแห่งความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง เชื่อว่า “ฉันสามารถทำได้ แม้ว่ามันอาจจะไม่สำเร็จในครั้งแรก แต่สุดท้ายแล้วฉันจะสามารถทำมันได้จนสำเร็จ

 

ดังนั้นสื่อการสอนในห้องเรียนจึงเป็นสื่อการสอนที่เมื่อครูนำเสนอกับเด็กแล้ว เด็กสามารถฝึกฝนหรือทำกิจกรรม

นั้นๆซ้ำได้ด้วยตัวเอง มีการตรวรสอบความถูกต้องในตัวอุปกรณ์เอง โดยไม่จำเป็นต้องให้ครูคอยมาตรวจคำตอบให้ เมื่อเด็กสามารถทำกิจกรรมนั้นจนสำเร็จ ก็จะรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง ด้วยวิธีการนี้จะลดการบันทอนหรือการสร้างความรู้สึกเชิงลบเมื่อต้องมีคนมาคอยตรวจหรือคอยบอกว่าทำผิดหรือถูกอีกด้วย

การสร้างความพร้อมด้านสติปัญญา (Intelligent)

 

การเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย สติปัญญาเกิดจากการที่เซลล์สมองจำนวนมหาศาลของเด็กได้รับการกระตุ้นทำ

ให้เกิดการเชื่อมโยงกันระหว่างเซลล์สมองอย่างเป็นระบบ ยิ่งปริมาณของเซลล์สมองถูกใช้งานมาเท่าไหร่ ก็จะมีการเชื่อมโยงมากเท่านั้น และรูปแบบการใช้งานก็จะเป็นตัวกำหนดระบบในการเชื่อมโยง ถ้าเด็กได้ทำกิจกรรมที่มีการฝึกทักษะอย่างเป็นระบบ การเชื่อมโยงก็จะมีความเป็นระบบด้วยเช่นกัน การจะกระตุ้นให้สมองมีการใช้งานในเด็กเล็กทำได้ผ่านระบบประสาทรับรู้อย่างการสัมผัส การชิม การดมกลิ่น การฟังเสียง และการมองเห็น

การเตรียมความพร้อมด้านข้อมูล โดยการสร้างสภาวะ Normalization ให้เกิดในห้องเรียน ซึ่งเป็นสภาวะที่ทำให้

เด็กๆ มีความพร้อมที่จะเรียนรู้และรับข้อมูลในปริมาณมหาศาล สามารถเรียนรู้สิ่งสำคัญในแต่ละในช่วงวัยของตนเองได้ และเติมเต็มศักยภาพในด้านนั้นๆ ของตนได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ฝืนหรือถูกบังคับ แต่จะทำให้เกิดความอยากตามธรรมชาติ ที่เป็นไปตามพัฒนาการและวัยของเด็กเอง  สภาวะ Normalization นี้เองที่ทำให้เด็กๆ ในห้องเรียนของเรามีความแตกต่างจากเด็กในห้องเรียนทั่วๆไป ทำให้เด็กๆ รักในการเรียนรู้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการจากภายในของตัวเด็กเอง

ดังนั้นการเตรียมความพร้อมด้านสติปัญญาในเด็กเล็กจึงไม่ใช่เพียงการฝึกเขียนหรือฝึกอ่านเท่านั้น แต่จำเป็นต้องคำนึงถึงความพร้อมด้านร่างกายและการให้ข้อมูลต่างๆอย่างเหมาะสม ร่วมทั้งการสร้างทัศนะคติที่ดีต่อการเรียนรู้ทำให้เกิดการพัฒนาควบคู่กับความสุข

การกระตุ้นตัวเองจากภายในเพื่อให้ทำสิ่งต่างๆจนสำเร็จ 

(Self-Motivation)

 

บุคคลที่มี (Self-motivation) คือบุคคลที่สามารถทำสิ่งยากๆที่คนอื่นทำไม่ได้ให้สำเร็จได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญ

ในโลกอนาคต ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่จำเป็นจะต้องได้รับการฝึกฝน

เรามักเคยชินกับการฝึกฝนให้เด็กทำสิ่งต่างๆให้สำเร็จจากแรงกระตุ้นภายนอก (External-Motivation) เช่น

การชื่นชม หรือการให้รางวัล แต่รูปแบบของการสร้างแรงจูงในแบบนี้มีข้อจำกัดอยู่มาก เช่น เมื่อเด็กโตขึ้นรางวัลที่ต้องการก็ใหญ่ขึ้นไปด้วย และเมื่อไม่มีรางวัลที่ต้องการความพยายามก็จะลดลงไปด้วย หรืออาจทำให้มีการผูกโยงความสุขและความสำเร็จกับแรงกระตุ้นภายนอก เช่น เมื่อทำสำเร็จจะต้องได้รับการชื่นชมไม่อย่างนั้นจะไม่มีความสุข บุคคลที่มี Self-Motivation จะมีความสุขเมื่อได้ทำสิ่งที่เขาตั้งใจไว้จนสำเร็จ แม้ว่าจะมีหรือจะไม่มีรางวัลก็ตาม

พัฒนาการทางสังคม (Social Development)

​ 

เด็กจำเป็นต้องมีทักษะที่จำเป็นเช่น การปรับตัว การเข้าใจคนอื่น การเป็นผู้นำ ฯลฯ และความเชื่อที่ว่าสังคมรอบตัว

เป็นสังคมที่ดี เด็กจึงจะสามารถอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขได้

 

ทักษะทางสังคมเกิดจากประสบการณ์ เด็กจะต้องได้รับประสบการณ์ทางสังคม จึงจะทำให้เด็ก สามารถที่จะปฏิบัติ

ตัวได้อย่างเหมาะสม ห้องเรียนคละอายุของเราช่วยพัฒนาทักษะนี้ โดยการจำลองสังคมเล็กๆ ขึ้น พร้อมทั้งมีบทเรียนเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันในสังคมให้กับเด็กๆ บทเรียนเปรียบเสมือนเครื่องมือที่มอบให้กับเด็กได้นำไปทดลองใช้ในสังคมเล็กๆ ของพวกเขาโดยปราศจากคำวิพากษ์วิจารณ์ เช่น เด็กที่แย่งของเด็กคนอื่น ครูจะให้เครื่องมือเช่น วิธีการขอของจากคนอื่น เมื่อได้เครื่องมือแล้ว เด็กจะนำเครื่องมือนั้นไปทดลองใช้ ใช้ผิดบ้างถูกบ้าง ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง เด็กๆ จะได้ทดลองใช้ทักษะเหล่านั้น และเผชิญกับผลจริงของมันจากนั้นเด็กจะนำมาปรับปรุงและพัฒนาทักษะของตนเอง เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข

 

รวมทั้งการที่เด็กสามารถแก้ปัญหาทางสังคมได้ด้วยตัวเอง จะช่วยสร้างทัศนคติที่ดีต่อการอยู่รวมกับผู้อื่นในสังคม

เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่

วินัยจากภายใน (Self-discipline)

 

การพัฒนาวินัยในห้องเรียนของรัตน์ฉัตรนั้น มีความแตกต่างจากความเชื่อพื้นฐานเป็นอย่างมาก ความเชื่อที่ว่าการฝึก

วินัยมาจากการให้รางวัลเมื่อทำดี และลงโทษเมื่อทำผิด และเมื่อทำเช่นนี้ซ้ำๆ จะทำให้เกิดวินัย แต่ตามปรัชญาของมอนเตสซอรี่แล้ว วินัยเกิดการการตัดสินใจที่พิจารณาจากข้อเท็จจริง ทำให้เราจำเป็นที่จะต้องฝึกให้เด็กๆ ได้เลือก โดยการเสนอตัวเลือกที่เหมาะสมให้กับเด็กๆ ตั้งแต่ยังเล็ก และยังต้องฝึกให้เด็กได้เรียนรู้ผลกระทบที่เกิดจากการเลือกของตนเอง

 

นอกจากนี้ยังต้องฝึกให้เด็กได้เข้าใจถึงอิสรภาพ และข้อจำกัดในสังคม โดยการให้อิสระที่มีขอบเขตที่ชัดเจนใน

ห้องเรียน สองสิ่งนี้จะสร้างให้เกิดวินัยจากภายในตัวเด็ก โดยไม่จำเป็นต้องมีการให้รางวัลหรือบทลงโทษ เหมือนอย่างในบางประเทศ ที่ผู้คนเลือกที่จะสวมหมวกนิรภัย หรือคาดเข็มขัดนิรภัย โดยไม่จำเป็นต้องมีตำรวจคอยตรวจจับ เพราะเขาพิจารณาแล้วว่าจะทำให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิตของตนเอง

 

หลักสูตรของรัตน์ฉัตรจึงไม่ใช่หลักสูตรเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศด้านวิชาการ แต่เป็นหลักสูตรที่ออกแบบเพื่อการ

พัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และรวมไปถึงการพัฒนาครูให้มีความเข้าใจในหลักการ และตอบสนองอย่างถูกต้องเพื่อเป็นส่วนสำคัญในการเติมเต็มศักยภาพของเด็กๆด้วย

© RATCHUT SCHOOL

bottom of page